ยินดีต้อนรับ welcome To blog

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แท็บแล็ต ไม่ควรมาแทนหนังสือ



"แท็บเล็ต" ไม่ควรมาแทนหนังสือ

 
ในช่วงเวลาที่โครงการแจกแท็บเล็ต ให้กับนักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศกำลังเดินหน้า หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต่างก็แสดงความกังวลผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากโครงการนี้ นักการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า ไม่ควรนำแท็บเล็ตมาใช้แทนหนังสือเรียน เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะด้านการเขียน และขาดปฎิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เนื่องจากเด็กจะจดจ้องอยู่แต่หน้าจอแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียว

ส่วน เนื้อหาภายในแท็บเล็ต นักการศึกษาท่านนี้มองว่า จะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ของโครงการ และควรตั้งคณะกรรมการขึ้นมากำกับดูแลโดยเฉพาะ เพราะเป็นเรื่องใหม่ของแวดวงการศึกษาไทย ซึ่งอาจเกิดปัญหารายวัน และทำให้โครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

หลังจากทดลองใช้แท็บเล็ตมาก ว่า 1เดือน  ยอมรับว่าแท็บเล็ตทำให้เด็กๆ รู้ตื่นตัวในการเรียนมากขึ้น เนื่องจากสีสันและภาพเคลื่อนไหวบนหน้าจอ ดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าตัวหนังสือ

แต่กังวลผลกระทบด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น เช่น ปัญหาสายตาจากแสงสว่างบนหน้าจอ / การปวดใบหูเพราะถูกเฮด โฟนบีบ และอาการเจ็บต้นคอจากการก้มมองหน้าจอเป็นเวลานาน พร้อมแนะว่าจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้แท็บเล็ต แก่ครูทั่วประเทศ เพื่อรองรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

โครงการ One Tablet PC per Child เป็นนโยบายหนึ่งของรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ที่ต้องการส่งเสริมให้เยาวชนไทย มีความพร้อมทั้งด้านวิชาการ และเทคโนโลยี โดยในปีการศึกษา 2555 นักเรียนชั้น ป.1 ทั่วประเทศกว่า 8แสน 6หมื่นคนจะได้รับแท็บเล็ตคนละ 1เครื่อง รวมทั้งยังมีแนวทางที่จะแจกแท็บเล็ต ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศอีกระดับชั้นหนึ่งด้วย เพื่อให้เยาวชนไทยก้าวขึ้นสู่ระดับแนวหน้าในประชาคมอาเซียน


สำหรับประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง แท็บเล็ต: มุมมองกว้าง สร้างปัญญาเด็กไทย?” จากการเสวนาดังกล่าวได้มีข้อเสนอจาก 5 กลุ่มหลักคือ
1.กลุ่มเด็ก เห็นว่า เด็กมัธยมศึกษาก็อยากใช้บ้าง เด็กประถมศึกษาตอนต้นยังเขียนไม่คล่องอ่านไม่เก่งจะใช้ให้เกิดประโยชน์ไม่เต็มที่นัก
2.กลุ่มผู้ปกครอง เห็นด้วยกับการให้เด็กได้ใช้แท็บเล็ต เพราะทำให้เด็กเท่าทันเทคโนโลยี แต่ก็ยังห่วงใยเรื่องความรับผิดชอบกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น การดูแลรักษาของเด็ก และอาจเป็นอันตรายต่อเด็กถ้ามีคนต้องการขโมย จะสร้างวินัยให้แก่เด็กอย่างไร และจะกำกับดูแลอย่างไรให้เด็กใช้แท็บเล็ตอย่างเหมาะสม
 3.กลุ่มครู คิดว่าควรใช้แท็บเล็ตควบคู่ไปกับห้องสมุด ครูก็ต้องทำหน้าที่เป็น Facilitator ที่ดี คอยควบคุมให้เด็กใช้อย่างมีประโยชน์ มีการอบรมครูให้เท่าทันเทคโนโลยี และมีการใช้ e-learning ผ่านแท็บเล็ต
 4.กลุ่มเครือข่ายทำงานด้านเด็ก มองว่า รัฐบาลควรให้ความสำคัญกับเด็กยากจนด้วย ห่วงว่าเด็กจะมีปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะสายตา เด็กยังไม่พร้อมที่จะใช้ เด็กอาจทำหายได้ การใช้แท็บเล็ตนานๆจะทำให้เด็กขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้ใหญ่
5.ลุ่มนักจิตวิทยาเด็ก เห็นว่า การใช้แท็บเล็ตทำให้เด็กขาดวิชาชีวิตซึ่งเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ลูก การใช้คอมพิวเตอร์มากๆ ทำให้เกิดปัญหาสมาธิสั้น อารมณ์อ่อนไหว การพัฒนากล้ามเนื้อตาและมือมีปัญหา ภาษาพูดช้าลง ขาดปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหา และ เกิดโรคโหยหาตามมา (อาการติด) อย่างไรก็ตามเห็นว่าหากจะให้เด็ก ป. 1 ใช้แท็บเล็ตจริงก็ควรแทรกเนื้อหารู้เท่าทันสื่อ ได้แก่ Media Literacy, Media Watch, Media Regulation, Media Research และ Social Network
ที่มา.. VoiceTV
ที่มา  :  http://milthailand.org/index.php?option=com_kunena&func=view&catid=4&id=3&Itemid=163&lang=th


การหล่อหลอมเด็กยุคใหม่ที่ครอบครัวต้องปรับ รร.ต้องเปลี่ยน ศตวรรษที่21






การหล่อหลอมเด็กยุคใหม่ ที่ครอบครัวต้อง ปรับร.ร.ต้องเปลี่ยนในศตวรรษที่ 21



ในระยะหลังนักการศึกษาทั่วโลกได้พูดถึงการเลี้ยงดูลูกในศตวรรษที่ 21 ที่พ่อแม่ต้องปรับตัว ในบางประเทศมีโรงเรียนสอนพ่อแม่ มีผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยแก้ปัญหาและให้คำแนะนำความเป็นไปของครอบครัว เนื่องจากการเลี้ยงดูเด็กในโลกยุคใหม่จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ซึ่งเรื่องนี้อาจยังใหม่สำหรับคนไทย เพราะหากย้อนกลับไปดูระบบการศึกษาไทยที่เป็นแหล่งหล่อหลอมคนร่วมกับครอบครัว ดูเหมือนว่าจะสวนทางกับทิศทางของโลก  สิ่ง ที่ต้องเปลี่ยนคือการปรับกระบวนการเรียนการสอนรวมถึงการเลี้ยงดูเพื่อให้ เด็กพร้อมสำหรับโลกที่เต็มไปด้วยความหลากหลายและความเปลี่ยนแปลงทั้ง เศรษฐกิจ สังคมที่รายล้อมไปด้วยสิ่งใหม่และความเจริญของเทคโนโลยี อันจะส่งผลกระทบถึงตัวมนุษย์อย่างรวดเร็ว
ปรับโหมดการสอนรู้สู่ ศต.ที่ 21
ใน การสัมมนาหัวข้อการพัฒนาผู้นำในเด็ก จัดโดย หน่วยพัฒนาการเรียนรู้สำหรับเด็ก Newgen บริษัทที่ปรึกษา เอพีเอ็ม กรุ๊ป "เมก้า ศรีเสธิ" ผู้เชี่ยวชาญด้าน Parent Coach กล่าวถึงการเป็นพ่อแม่ของเด็กในศตวรรษที่ 21 ว่า ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเด็กเติบโตขึ้นท่ามกลางเทคโนโลยี จึงเป็นความท้าทายของพ่อแม่ในยุคนี้ที่จะสร้างศักยภาพให้ตนเอง เพื่อเดินไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
"พ่อแม่ยุคนี้จะต้องรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และมีทัศนคติที่ชัดเจนต่อทิศทางในการเลี้ยงดูลูก ซึ่งการโค้ชพ่อแม่จะช่วยผลักดันและค้นหาวิธีที่สร้างสรรค์และเหมาะสมสำหรับ ครอบครัวที่นำไปสู่การปฏิบัติที่ดี และปัญหาอีกด้านคือวัฒนธรรมของคนไทยที่ผู้ใหญ่จะเป็นผู้สอนเด็กทุกอย่างและ ควบคุมพฤติกรรมมากเกินไปทำให้ความเป็นผู้นำถูกจำกัดไว้ ขั้นแรกต้องเปลี่ยนแปลงความคิดก่อนว่าเด็กทุกคนสามารถสอนได้"
"ความท้าทายที่ว่าคือ ความพร้อมเรื่องภาษา ครอบครัวไทยต้องฝึกภาษาให้ลูกและตัวเองด้วย ต่อมาคือการเรียนของลูกที่เปลี่ยนไป ทั้งเวลาการเปิด-ปิดภาคเรียน หลักสูตรและเนื้อหาการเรียน สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่เปิดกว้างขึ้น เรื่องที่สามคือการสอนให้เด็กมีใจเปิดกว้างและเป็นมิตร เคารพในความหลากหลายและพร้อมจะเป็นครอบครัวเดียวกัน"
"เรื่องต่อมา คือ เศรษฐกิจที่เปลี่ยนไปอาจกระทบชีวิตครอบครัวทำให้มีเวลาอยู่ร่วมกันน้อยลง ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ยังอยู่คงเดิม และเรื่องสุดท้ายโรคภัยไข้เจ็บ ซึ่งอาจเป็นโรคใหม่ ๆ ที่คนไทยไม่เคยเป็นหรือไม่เคยเจออาการอย่างนี้มาก่อน ทั้งหมดล้วนมีคำตอบเดียวกันคือ ครอบครัวต้องพร้อมจะเรียนรู้เพื่อก้าวสู่สังคมที่กำลังจะเปลี่ยนไป"
แนะ ร.ร.สอนเน้นการอยู่ร่วมกัน    การ เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษายุคปัจจุบัน เพราะสังคมแห่งการเรียนรู้ในยุคสมัยนี้ ผู้เรียนต้องรู้จักเรียนรู้ที่จะอยู่บนพื้นฐานของความเปลี่ยนแปลง และเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่นในสังคมให้มีความสุข
"เสาหลักการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ประกอบด้วย 3 หัวใจสำคัญที่สามารถฝึกให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดได้ คือ 1.เรียนรู้ที่จะอยู่กับตนเอง 2.เรียนรู้ที่จะอยู่กับผู้อื่น และ 3.เรียนรู้ที่จะอยู่กับธรรมชาติ ทั้งหมดจะเป็นหัวใจสำคัญที่การศึกษาไทยยุคปัจจุบันควรนำมาประยุกต์ใช้ในการ เรียนการสอน ที่ปัจจุบันสอนเน้นเฉพาะภาคทฤษฎีในหนังสือ แต่ยังไม่เน้นภาคปฏิบัติและสอนทักษะการใช้ชีวิตเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยน แปลงของโลกเท่าที่ควร"  การเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนทั้งหมดจะเห็นเป็น จริงได้ อาจต้องอาศัยระยะเวลาในการขับเคลื่อน แต่หัวใจสำคัญของความสำเร็จคือการมองเห็นปัญหาและจับมือทำงานร่วมกัน โดยเริ่มได้ตั้งแต่ในครอบครัว ชุมชน สถาบันการศึกษา ไปจนถึงผู้มีอำนาจในการกำหนดนโยบายในภาพกว้างรวมถึงสังคม

ที่มา..ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

5 เทคโนโลยีใหม่



5 เทคโนโลยีใหม่ เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ทั่วโลกแน่นอน จากการคาดการณ์โดยไอบีเอ็ม
  
       เมื่อไม่นานมานี้ไอบีเอ็มได้เปิดเผยรายงานประจำปี "เน็กซ์ 5 อิน 5" (Next 5 in 5) ฉบับที่ 4 ซึ่งมีการคาดการณ์นวัตกรรมและเทคโนโลยี 5 สิ่ง ที่กำลังจะเกิดขึ้นและมีผลต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองต่างๆ ทั่วโลก ในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จากการวิเคราะห์เทคโนโลยีในห้องปฏิบัติการ ประกอบกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
 1. "โมเดลคณิตศาสตร์" ช่วยโลกรับมือโรคระบาด
       ไอบีเอ็มคาด การณ์ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์จะมีบทบาทในด้านสาธารณสุขมากยิ่ง ขึ้น ในการหาแนวโน้มรูปแบบการระบาดของโรคว่าจะเกิดการระบาดขึ้นบริเวณไหน เวลาใดบ้าง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนและเตรียมการรับมือเพื่อหยุดยั้งการแพร่ ระบาด และการรักษาผู้ป่วยได้อย่างทันท่วงที
       รวมทั้งมี "อินเทอร์เน็ตเพื่อสุขภาพ" ที่จะเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างชุมชน โรงพยาบาล หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเวชภัณฑ์ได้อย่างทั่วถึง เกิดเป็นระบบสาธารณสุขที่ฉลาดและมีประสิทธิภาพ สามารถคาดการณ์รูปแบบการระบาดของโรค ศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย และแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดซ้ำในอนาคต



อีกไม่นานรถยนต์พลังงานไฟฟ้าจะเข้ามายึดพื้นที่บนถนนแทนรถยนต์ใช้น้ำมัน (ภาพโดย ไอบีเอ็ม)

       2. "รถพลังไฟฟ้า" มาแน่นอน
       สำหรับ รถยนต์ไฮบริดในปัจจุบัน ใช้พลังงานจากแบตเตอรีลิเธียมไอออน ซึ่งยังมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่นักวิทยาศาสตร์ก็กำลังมุ่งมั่นพัฒนาแบตเตอรี่ขับเคลื่อนรถยนต์และรถประจำ ทางที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และสามารถทำให้รถวิ่งได้ระยะทางไกลขึ้นต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง เช่น แบตเตอรี่ลิเธียมแอร์ (Lithium Air) ซึ่งสามารถเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานได้มากกว่าลิเธียมไอออนถึง 10 เท่า ทั้งยังมีน้ำหนักเบา ปลอดภัยกว่า และราคาถูกกว่า และในอนาคตรถยนต์ที่เรานั่งอาจไม่ต้องแวะเติมน้ำมันตามปั๊มอีกต่อไป เพราะเพียงชาร์จไฟใส่แบตเตอรี่จากที่บ้าน ก็ขับรถไปเที่ยวที่ไหนๆ ได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร
       ผู้เชี่ยวชาญไอบีเอ็มยังคาด การณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า พลังงานทดแทนอื่นๆ ก็จะถูกนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ด้วยเช่นกัน อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่รองรับระบบขนส่งมวลชนที่ใช้พลังงานไฟฟ้าก็จะได้รับการพัฒนาให้ก้าวล้ำและ แพร่หลายมากขึ้นด้วย



ตึกสูงและอาคารใหม่จะถูกติดตั้งเซ็นเซอร์ไว้มากมาย เพื่อตอบสนองความต้องการให้ผู้ใช้งานอย่างเป็นระบบ และลดการใช้พลังงาน (ภาพโดย ไอบีเอ็ม)
  3. "อาคารอัจฉริยะ" ตอบสนองทุกความต้องการของชีวิตคนเมือง
  ในอนาคตอันใกล้นี้เทคโนโลยี เซ็นเซอร์จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในอาคาร เพื่อเชื่อมโยงระบบต่างๆ ภายในอาคาร ทั้งระบบไฟฟ้า น้ำประปา อุณหภูมิ โทรคมนาคม และระบบรักษาความปลอดภัย โดยจะเชื่อมโยงกันและบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ ประหยัดพลังงาน และปลอดภัยยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานหรือผู้เข้าพักได้ราวกับมีชีวิต และด้วยระบบอัจฉริยะภายในอาคาร จะมีการเตือนล่วงหน้าด้วยว่าระบบหรืออุปกรณ์ชิ้นไหนควรได้รับการซ่อมบำรุง ก่อนที่จะเกิดการชำรุดเสียหาย และยังตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
  
       ตัวอย่างอาคารอัจฉริยะที่เริ่มมี ให้เห็นแล้วในปัจจุบัน เช่น โรงแรมไชน่า หังโจว ดราก้อน ในประเทศจีน, อาคารเซเว่น เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ในนครนิวยอร์ก สหรัฐฯ



เทคโนโลยีอัจฉริยะในอนาคตจะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมในเมืองใหญ่ได้ (ภาพโดย ไอบีเอ็ม)
 4. เทคโนโลยีอัจฉริยะ ช่วยป้องกันปัญหาอาชญากรรมในเมือง   
       ภาย ในอีก 5 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีขั้นสูงจะช่วยลดปัญหาอาชญากรรมในเมืองให้น้อยลงได้ และเพิ่มความปลอดภัยให้กับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ดียิ่งขึ้น ด้วยระบบวิเคราะห์ข้อมูลอาชญากรรมจากสถิติและแนวโน้มเพื่อคาดการณ์ล่วงหน้า ว่าพื้นที่ไหน เวลาใด เสี่ยงเกิดเหตุร้าย และช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจลงพื้นที่ตรวจตราความสงบเรียบร้อย และป้องกันการก่ออาชญากรรมหรือรับมือกับปัญหาได้อย่างทันท่วงที  
       นอก จากนี้ เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันและรับมือกับปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ก็จะได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและมีการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่น ระบบดับเพลิงอัจฉริยะ ช่วยคาดการณ์ความเสี่ยงจากอัคคีภัยในเมือง และรับมือกับปัญหาเพลิงไหม้หรือไฟป่า, ระบบควบคุมอุทกภัยแบบอัจฉริยะ ด้วยเซ็นเซอร์ตรวจวัดปริมาณน้ำฝนบริเวณเขื่อนกันน้ำท่วม ตามแนวชายฝั่งทะเลและแม่น้ำลำคลอง เช่น ศูนย์จัดการน้ำระดับโลก (Global Center for Water Managment) ของไอบีเอ็ม ในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอแลนด์ กำลังบุกเบิกเทคโนโลยีดังกล่าวอยู่ในตอนนี้



ในอนาคตอันใกล้ เทคโนโลยีสมัยใหม่จะช่วยให้มนุษย์บริหารจัดการน้ำได้ดียิ่งขึ้น (ภาพโดย ไอบีเอ็ม)
   5. ระบบจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด บรรเทาปัญหาน้ำขาดแคลน
       ผู้ เชี่ยวชาญของไอบีเอ็มระบุว่าในช่วง 100 ปีที่ผ่านมา ปริมาณการใช้น้ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นมากกว่านั้นหลาย เท่าตัว และปัจจุบันนี้น้ำที่มีอยู่ทั่วโลกมีเพียง 2% เท่านั้นที่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้ และความต้องการน้ำของมนุษย์จะเพิ่มขึ้นอีก 6 เท่าในอีก 50 ปีข้างหน้า แต่ปัญหาขาดแคลนน้ำนั้นเป็นภัยคุกคามประชาชนแล้วหลายพื้นที่ โดยมีประชากรถึง 1 ใน 5 ของโลก เข้าไม่ถึงน้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย
       นัก วิทยาศาสตร์กำลังพยายามพัฒนาระบบอัจฉริยะที่ช่วยบริหารจัดการน้ำในเขตเมือง เพื่อลดการสิ้นเปลืองและสูญเสียน้ำโดยเปล่าประโยชน์ ด้วยระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับการรั่วไหลของท่อประปาและซ่อมแซมตัวเองได้อย่าง อัตโนมัติ รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีกรองน้ำที่สามารถเปลี่ยนน้ำทะเลให้เป็นน้ำจืด หรือกรองเสียให้กลายเป็นน้ำดี และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำได้

ที่มา : ASTVผู้จัดการออนไลน์   สิ่งประดิษฐ์-เทคโนโลยี http://www.manager.co.th/Home/images/ico_rss.gif