ยินดีต้อนรับ welcome To blog

วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556






เทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
                                                                            
  ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่างในการทำให้เกิดเป็นกลไก ในการนำข้อมูลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ  บุคลากร  ขั้นตอนการปฏิบัติงาน  ฮาร์ดแวร์  ซอฟต์แวร์ข้อมูล ถ้าขาดส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งไม่สมก็อาจทำให้ระบบสารสนเทศไม่สมบูรณ์ได้
แนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 บริษัทไอบีเอ็มได้นำไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย ไมโครคอมพิวเตอร์ในขณะนั้นใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 8088 เพียงไม่กี่ปีต่อมาก็ได้พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโพรเซสเซอร์ 80286 ถ้าย้อนกลับไปในอดีตพบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรุ่นใหม่บ่อยมาก บริษัทผู้พัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ได้คิดค้นและพัฒนาให้ขีดความสามารถเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ในปี พ.ศ. 2545 ไมโครโพรเซสเซอร์รุ่นเพนเตียมโฟร์ของบริษัทอินเทล และรุ่นเอครอนของบริษัทเอเอ็มดี ทำงานได้ด้วยความเร็วกว่า 2,000 เมกะเฮิรตซ์ ขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์รุ่นนี้มีความเร็วในการคำนวณเพิ่มขึ้น มีผลทำให้พัฒนาการทางซอฟต์แวร์ก้าวหน้าไปจากเดิมมาก
       เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการจัดการสารสนเทศมักมีเทคโนโลยีสื่อสารเข้ามาเกี่ยวข้องจึงมีการเรียกรวมกันว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology : ICT)
     เครื่องคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบให้มีจำนวนซีพียูและอุปกรณ์ประกอบอื่นๆ จำนวนมาก เพื่อเสริมสร้างให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ดีขึ้นเรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง (High Performance Computer : HPC ) เครื่องคอมพิวเตอร์พวกนี้เหมาะกับงานคำนวณที่ซับซ้อนและต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมาก เช่น งานพยากรณ์อากาศงานจำลองระบบมลภาวะเกี่ยวกับน้ำท่วม หรือการจำลองสภาพจราจร เป็นต้น

เทคโนโลยีแบบสื่อประสม
     เทคโนโลยีแบบสื่อประสม (multimedia technology) หมายถึงการใช้สื่อหลายแบบผสมกัน ซึ่งมีทั้งที่เป็นข้อความ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียงพูด เสียงดนตรี และวีดิทัศน์
     การใช้งานสื่อประสมกำลังได้รับความนิยม มีการพัฒนาและประยุกต์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเมื่อมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การส่งกระจายข้อมูลบนเครือข่ายจึงหันมานิยมแบบสื่อประสม ซึ่งพัฒนามาจากระบบข้อมูลที่เป็นตัวอักษรก่อน ต่อมาก็เป็นรูปภาพ เสียง จนถึงวีดิทัศน์
     คอมพิวเตอร์ที่ใช้กับสื่อประสมจึงต้องการซีพียูที่ทำงานได้เร็ว สื่อประสมจึงเหมาะกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ และต้องการซอฟต์แวร์ที่ได้รับการพัฒนามาให้ใช้กับระบบนี้เท่านั้น    ในอนาคตสื่อประสมจะเข้ามามีบทบาทสูงมาก เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถนำสื่อต่างๆ มาใช้งานกันได้ ระบบสื่อประสมนี้จะเข้ามามีบทบาททำให้เกิดการใช้งานอย่างกว้างขวาง
   อุปกรณ์พิเศษสำหรับรับข้อมูลและแสดงผล   เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ดียิ่งขึ้น จึงมีผู้พัฒนาระบบรับข้อมูลและระบบแสดงผลข้อมูลให้ใช้งานได้สะดวก ระบบรับข้อมูลใหม่มีข้อเด่นในเรื่องการรับและส่งข้อมูลได้สะดวก แม่นยำ และใช้ประโยชน์ได้กว้างขวาง เช่น อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง อุปกรณ์อ่านข้อมูลด้วยแสง อุปกรณ์บันทึกข้อมูลระยะไกล อุปกรณ์แสดงผลข้อมูลด้วยเสียง และอุปกรณ์ตรวจสอบลายนิ้วมือ

ปัญญาประดิษฐ์ 
     ปัญญาประดิษฐ์ หมายถึงการสร้างเครื่องจักรให้สามารถทำงานได้เหมือนคนที่ใช้ปัญญา หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นการประดิษฐ์ปัญญาให้คอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถจำลองการทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน โดยเน้นแนวคิดตามแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนการเรียนรู้ การให้เหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ตลอดจนการเลือกแนวทางดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์
     หากให้คอมพิวเตอร์รับรู้ข่าวสารและเหตุการณ์ต่างๆได้ และสามารถนำเอาความรู้ต่างๆ เหล่านั้นมาประมวลผลก็จะมีประโยชน์ได้มาก เช่น ถ้าให้คอมพิวเตอร์มีข้อมูลเกี่ยวกับคำศัพท์ มีความเข้าใจในเรื่องประโยคและความหมายแล้ว สามารถเข้าใจประโยคที่รับเข้าไป การประมวลผลภาษาในลักษณะนี้จึงเรียกว่า การประมวลผลภาษาธรรมชาติ โดยจุดมุ่งหมายที่จะทำให้คอมพิวเตอร์มีความสามารถในการใช้ภาษา เข้าใจภาษา และนำไปประยุกต์งานด้านต่างๆ เช่น การตรวจสอบตัวสะกดในโปรแกรมประมวลคำ ตรวจสอบการใช้ประโยคที่กำกวม ตรวจสอบไวยากรณ์ที่อาจผิดพลาด และหากมีความสามารถดีก็จะนำไปใช้ในเรื่องการแปลภาษาได้
     ปัญญาประดิษฐ์จึงเป็นเรื่องที่นักวิจัยได้พยายามดำเนินการและสร้างรากฐานไว้สำหรับอนาคต มีการคิดค้นหลักการ ทฤษฎี และวิธีการต่างๆ เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานอย่างมีเหตุผล มีการพัฒนาโครงสร้างฐานความรอบรู้
     ปัญญาประดิษฐ์เป็นวิชาการที่มีหลักการต่างๆ มากมาย และมีการนำออกไปใช้บ้างแล้ว เช่น การแทนความรอบรู้ด้วยโครงสร้างข้อมูลลักษณะพิเศษ การคิดหาเหตุผลเพื่อนำข้อสรุปไปใช้งาน การค้นหาเปรียบเทียบรูปแบบ ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์และมีขั้นตอนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สะสมความรู้ได้เอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น